๑. สังเกตุการตั้งครรภ์ของวัว
๒.สังเกตุอาการวัวก่อนคลอด และสังเกตุการณ์คลอด
๔.การดูแลลูกไก่แรกเกิดจนโตเป็นแม่ไก่
๕.การผสมอาหารให้ไก่ ทำความสะอาดกรง ผสมวิตามินในน้ำไก่
ประโยชน์ของกิจกรรม
เรียนรู้เรื่องการดูแลลูกวัวและแม่วัวหลังคลอดเพื่อป้องกันการสูญเสีย ลูกวัวต้องการน้ำนมเหลืองภายใน 24 ชม เป็นแหล่งพลังงาน วิตามิน และภูมิคุ้มกันโรค ซึ่งจำเป็นมากและไม่มีสิ่งใดทดแทนได้ถ้าลูกวัวไม่ได้กิน จะป่วยง่าย อ่อนแอ และต่อให้ดูแลดีก็มักจะตายในที่สุด ลูกวัวควรได้กินนมน้ำเหลืองภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด ถ้าเกิน 24 ชั่วโมงค่อยมากิน จะไม่ได้ผล เพราะภูมิคุ้มกันจะดูดซึมผ่านทางเดินอาหารไม่ได้แล้ว ส่วนแม่วัวหลังคลอดต้องเสริมแร่ธาตุต่างๆผ่านการเลียก้อนแร่ธาตุ การฉีดวิตามินเสริม เพราะแม่วัวจะเสียแร่ธาตุมากจากการคลอด
ผู้เรียนสามารถแยกวัวที่มีการตั้งครรภ์และไม่ตั้งครรภ์ได้ โดยการสังเกตุสรีระของแม่วัวที่เปลี่ยนไป
เรียนรู้เรื่องการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ( sexual reproduction )
เรียนรู้เรื่อง รก เมื่อแม่วัวคลอดจะต้องสังเกตุว่า รก ถูกขับออกมาจากตัวแม่วัวหรือไม่ เพราะถ้าเกิดการรกค้างอยู่ แม่วัวอาจติดเชื้อและตายได้ โดยนักเรียนได้เห็นและเรียนรู้ว่า รก มีหน้าที่และความสำคัญอย่างไร
เรียนรู้การให้อาหารเสริมแม่วัว อาทิ กระถิน มีโปรตีนสูง ผู้เรียนได้มีโอกาสไปตัดกระถินมาให้แม่วัวที่เพิ่งคลอด
เรียนรู้เรื่องการดูแลไก่ตั้งแต่ยังเป็นลูกเจี๊ยบ จนโตเป็นไก่สาว พร้อมออกไข่ การผสมอาหารให้ตามวัยของไก่ พัฒนาการด้านร่างกายของไก่ตั้งแต่เป็นลูกเจี๊ยบจนโตเป็นไก่สาว ระยะเวลาในการให้ผลผลิต
๑. เพาะเมล็ดมะยงชิด ย้ายต้นอ่อนมะยงชิด ย้ายต้นมะยงชิดลงดิน
๒.ปลูกหญ้าเพื่อการค้า
๓.ขายมูลวัว
๔.เลี้ยงยีสต์จากผลไม้(มะยงชิด)ในสวนเพื่อนำมาทำหัวเชื้อขนมปัง
๕.แปรรูปมะยงชิด
ประโยชน์ของกิจกรรม
เรียนรู้การขยายพันธุ์ไม้ผลโดยการเพาะเมล็ด ตั้งแต่เก็บเมล็ดผลมะยงชิด นำมาแกะจนเห็นเมล็ดขาวด้านในเพื่อง่ายต่อการแทงออกของราก นำไปเพาะในกระบะเพาะ ดูแลจนเป็นต้นอ่อน และย้ายลงดิน และยังดูแลสังเกตุการณ์ได้จนถึงต้นโตให้ผลผลิต
เรียนรู้ขั้นตอนต่างๆในการปูหญ้า ตั้งแต่การเตรียมทรายขี้เป็ด การไปซื้อหญ้าจากเกษตรกรที่ปลูกหญ้า เอาหญ้าลงปู โรลหญ้าด้วยเครื่องโรล เพื่อให้รากแน่นติดกับดิน รดน้ำ ใส่ปุ๋ยยูเรีย
นับจำนวนปุ๋ยขึ้นรถเพื่อนำส่งให้ลูกค้า เรียนรู้ถึงการนำสิ่งปฎิกูลการเกษตรมาต่อยอดทางธุรกิจ เพื่อนำเงินมาหมุนเวียนในฟาร์ม รวมถึงนำมาใช้เป็นปุ๋ยคอกให้พืชผลในฟาร์ม
เรียนรู้การทำประโยชน์จากผลไม้ในฤดูกาล การนำผลไม้ที่มีรสหวานมาหมักเพื่อให้เป็นอาหารของยีสต์ตามธรรมชาติ นำมาทำ Starter ขนมปัง เอาไว้ใช้แทนยีสต์แห้ง
เรียนรู้ว่ายีสต์คือสิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋วที่ทำให้ขนมปังนุ่มฟู และช่วยสลายโครงสร้างกลูเตนในแป้งให้น้อยลง จึงดีต่อการย่อยอาหาร และยังอุดมไปด้วยพรีไบโอติก ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
นำมะยงชิดมาแปรรูปทำขนมขายในร้าน
บันทึกกิจกรรม ปศุสัตว์
บันทึกกิจกรรม เกษตร
๑.ทำขนม คุกกี้ เค้ก ต่างๆ ช่วยทำเครื่องดื่มลูกค้า คิดเงิน เก็บทำความสะอาด
ประโยชน์ของกิจกรรม
ทักษะด้านการอบขนมสามารถต่อยอดทำวิชาชีพ
-ความอดทน
-ความรับผิดชอบ
-สร้างรายได้
-พัฒนาฝีมือ พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก
-ความคิดสร้างสรรค์
-ความภูมิใจในตนเอง
-การทำงานเป็นทีม
-การปรับตัวทำงานในภาวะกดดัน
-การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
-ฝึกการทำงานเป็นขั้นตอน
-ฝึกการช่าง ตวง วัด เรียนรู้สัดส่วนของส่วนผสม
-บวก ลบ เงินที่ได้รรับจากลูกค้า
-เรียนรู้เรื่องธนบัตร และ เหรียญ
การอบขนมนั้นคือวิทยาศาสตร์พอๆกับที่เป็นศิลปะ เราไม่สามารถนำส่วนผสมรวมกันแล้วอบได้เลย ถึงแม้ว่าส่วนผสมจะมีปริมาณเท่ากันทุกอย่างผลลัพธ์ก็ออกมาไม่เหมือนกันแน่นอน อาทิ เค้กไม่ขึ้นฟู แข็งเป็นไต อบแล้วไม่สุกต่างๆ ดังนั้น การฝึกอบขนมจึงเป็นการฝึกให้นักเรียนเข้าใจปฎิกิริยาของสสารต่างๆที่นำมารวมกันเป็นส่วนผสม รวมถึงคุณสมบัติของส่วนผสมเหล่านั้นส่งผลต่อส่วนผสมที่ผสมเข้าด้วยกันอย่างไร การทำให้เนื้อเค้กนุ่มและสามารถเก็บความชุ่มชื่นของเค้กด้วยการใส่นม และน้ำมัน การเทส่วนผสมของน้ำมันลงไปในแบทเทอร์ทีละน้อยและคอยปาดโถผสมเพื่อไม่ให้น้ำมันซึ่งหนักกว่าตกตะกอนก้นโถผสมซึ่งเป็นสาเหตุของการที่เค้กเป็นไต หรือแม้กระทั้งการแยกไข่แดงออกจากไข่ขาว ไข่ขาวซึ่งประกอบด้วยโปรตีนที่สามารถตีให้ขึ้นฟูได้ดีกว่าไข่แดง โมเลกุลของโปรตีนในไข่ขาวเปรียบเสมือนเส้นเชือกที่ม้วนเป็นลูกกลมเล็ก ๆ ที่สามารถแทรกเข้าไปละลายน้ำได้ เมื่อตีไข่ขาวจนขึ้นฟู โครงสร้างของโปรตีนในไข่ขาวจะเปลี่ยนแปลง จากเส้นเชือกที่ม้วนตัวเป็นลูกกลมไปเป็นเส้นใยยาวพันกันยุ่งเหยิง และมีขนาดใหญ่ขึ้นจนโมเลกุลของน้ำและอากาศเข้ามาแทรกตัวอยู่ในโครงสร้างนี้ได้ เกิดเป็นฟองไข่ขาว ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักที่ทำให้เค้กนุ่มฟูและมีโครงสร้างแข็งแรงไม่ยุบตัว
-ชีส หมู่5ไขมันจากสัตว์
-ไข่ หมู่1 โปรตีน
-น้ำตาล หมู่2 คาร์โบไฮเดรต
-การเก็บล้างทำความสะอาดเพื่อโภชนาการที่ดี
-อ่านส่วนประกอบต่างๆจากสูตรทีได้มาทั้งในและต่างประเทศ
-ช่วยจดรายการของที่ต้องซื้อเข้าร้าน
-อ่านฉลากสินค้าทีนำมาเป็นส่วนผสม
-สื่อสารกับลูกค้าต่างชาติ
-เรียนรู้การใช้ระบบ POS
-ความอดทน
-วินัย
-สร้างรายได้และอาชีพ
-สัดส่วน จากสัดส่วนของน้ำและผงกาแฟในการสกัด
-หน่วยวัด ออนซ์-มิลลิลิตร กรัม กาแฟ ๑ ชอต น้ำ ๓๐ มิลลิลิตรเท่ากับ ๑ ออนซ์ ต่อ กาแฟ ๓๐ กรัม จะได้น้ำกาแฟ ๑ ออนซ์หรือ ๓๐ มิลลิลิตร
การสกัดกาแฟ(coffee extraction)ก็คือ การละลายสารประกอบทางเคมี (Chemical Compound) หลาย ๆ ตัวในผงกาแฟบดด้วยตัวทำละลาย (น้ำ) ซึ่งน้ำร้อนในการสกัดกาแฟต้องมีอุณภูมิที่เหมาะสมจึงสามารถสกัดรสชาติกาแฟออกมาได้หมด
การกดกาแฟ พลังงานการบดอัด ทำให้เกิดการเรียงตัวใหม่ของโครงสร้างผงกาแฟ ทำให้น้ำสามารถผ่านผงกาแฟได้อย่างสม่ำเสมอเพื่อการสกัดสารต่างๆในกาแฟออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ