ประโยชน์ของกิจกรรม
ได้เห็นการทำงานของสัตวบาลตอนปฏิบัติหน้าที่จริง ทั้งการวางแผนการทำงาน ความพร้อมเรื่องอุปกรณ์ และการดูแลความปลอดภัยในการทำงานกับสัตว์ใหญ่
ได้เรียนรู้ขั้นตอนการสืบพันธุ์ของสัตว์แบบอาศัยเพศ sexual reproduction ตั้งแต่ผสมเซลล์สเปิรม์ของเพศผู้วัวในรังไข่ของวัวเพศเมีย เห็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายวัวเพศเมียเมื่อตั้งครรภ์ รวมถึงสังเกตุลักษณะพฤติกรรมก่อนคลอดและตอนคลอดรวมถึงการขับรกหลังคลอด เห็นปัญหาต่างๆหลังคลอด อาทิเช่น แม่วัวมีหัวนมที่ใหญ่ ลูกวัวไม่สามารถดูดได้ การแก้ปัญหาในการช่วยลูกวัวให้ได้รับน้ำนมเหลืองก่อน 24 ชั่วโมง
สมาธิ การทำงานกับสัตว์ไม่ว่าเล็กใหญ่เด็กต้องใช้สมาธิ ดูแลแพะออกคอกเพื่อไปกินหญ้าถ้าเผลอ สุนัขอาจทำร้ายแพะ หรือแพะออกนอกพื้นที่
ความอดทนเพราะทำงานในฟาร์มเป็นการทำงานที่แจ้ง ทั้งร้อน เหม็น เหนื่อย
วินัย เช่น การให้อาหารสัตว์ต้องทำทุกวัน ความสะอาดของน้ำ เปลี่ยนแร่ธาตุวัว
ทักษะอาชีพติดตัว
ออกกำลังกาย
สร้างรายได้
บันทึกกิจกรรม 1.การเก็บเซลล์สเปริม์ด้วยความเย็น 2. ดูเซลล์สเปริม์จากกล้องจุลทรรศ์ 3. สังเกตุการใส่สเปริม์ในเพศเมียเพื่อการผสมเทียม
บันทึกกิจกรรม สังเกตุการณ์วัวคลอดลูก นักเรียนได้เห็นพฤติกรรมในช่วงที่แม่วัวมีอาการเจ็บครรภ์ เบ่งคลอด การที่ตัวอ่อนคลอดออกมาด้วยท่าธรรมชาติที่ถูกต้อง และการขับรกของแม่วัว
เสริมสร้างวินัยและความอดทน
สร้างรายได้/อาชีพ
ได้ออกกำลังกาย
ห่างไกลจอต่างๆ มือถือ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์
สร้างความสัมพันธ์กับธรรมชาติ
เมตตาต่อสัตว์
สำนึกรักสิ่งแวดล้อม
การนับจำนวนสัตว์และผลผลิต
การคำนวณวันการเป็นสัดและนับชั่วโมงการตกไข่
ทักษะการนับธนบัตรและเหรียญต่างๆ ผ่านการขายผลไม้
หน่วยกิโลกรัม กรัม ผ่านการชั่งน้ำหนักผลไม้
หน่วยตวงจากการตวงส่วนผสมต่างๆเพื่อแปรรูปผลไม้
วิธีการทำผสมเทียมสัตว์(วัว)
ได้เห็นเซลล์สืบพันธุ์จากกล่องจุลทรรศน์ (sperm) ที่แบ่งตัวด้วยกระบวนการไมโอซิสจากร่างกายของวัวเพศผู้ในวัยเจริญพันธุ์
เรียนรู้การพัฒนาสายพันธุ์โดยเลือกน้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์ที่มีสายเลือดสูงเพื่อผสมกับแม่พันธุ์ไทยเพื่อให้ได้เลือดทีสูงขึ้น (Breeding)
เรียนรู้เรืองการผสมเซลล์สืบพันธุ์ของเพศผู้เข้าไปในรังไข่ของเพศเมียเพื่อให้เกิดกระบวนการสืบพันธุ์ (Reproduction) นักเรียนสามารถนำประสบการณ์ตรงนี้มาเชื่อมโยงทำข้อสอบวิทยาศาสตร์ของ Khan Academy ได้อย่างเข้าใจ
การสังเกตุระยะการเป็นสัดในวัวเพศเมีย เครื่องเพศบวม มีเมือกใส ยืนนิ่งให้ตัวอื่นโคม เป็นต้น
การจำแนกประเภทของสัตว์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ต่อยอดเกี่ยวกับการจำแนกประเภทของสัตว์ต่างๆ อาทิ ไก่ อยู่ในกลุ่มสัตว์ปีก ขยายพันธุ์ด้วยการออกไข่และฟักเป็นตัวอ่อน ซึ่งไก่ก็มีทั้งไก่ไข่และไก่เนื้อ และวัว เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ออกลูกเป็นตัวและให้นมจากแม่เป็นอาหาร และวัวก็มีแยกเป็นวัวนมและวัวเนื้อ
การขยายพันธุ์ของพืช ทั้งการผสมเกสร ปักชำ
ส่วนประกอบของพืช
การสังเคราะห์แสงของพืช
ความสำคัญของน้ำต่อการดำรงชีวิตของ พืชและสัตว์
การถนอมอาหารด้วยการดองเกลือ การเชื่อม การกวนผลไม้ การตากแห้ง
การกำจัดแมลงที่รบกวนวัวด้วยการจุดไฟให้วัว ควันในไม้จะมีกลิ่นและสารต่างๆมากมายซึ่งทำให้ยุง แมลงต่างๆ ไม่เข้ามากวนวัว
ไม้ฟืนเมื่อนำมาจุดไฟให้วัว ถ้าเผาไหม้ไม่หมดสามารถถ่านมาใช้หุงต้มได้ ซึ่งที่บ้านก็นำถ่านเหล่านั้นมาใช้หุง ต้ม ย่าง ทำอาหารในครอบครัว
การอ่านและจดจำพันธุ์สัตว์ในใบรับรองการผสมพันธุ์
๑.ทำขนม คุกกี้ เค้ก ต่างๆ ช่วยทำเครื่องดื่มลูกค้า คิดเงิน เก็บทำความสะอาด
ประโยชน์ของกิจกรรม
ทักษะด้านการอบขนมสามารถต่อยอดทำวิชาชีพ
-ความอดทน
-ความรับผิดชอบ
-สร้างรายได้
-พัฒนาฝีมือ พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก
-ความคิดสร้างสรรค์
-ความภูมิใจในตนเอง
-การทำงานเป็นทีม
-การปรับตัวทำงานในภาวะกดดัน
-การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
-ฝึกการทำงานเป็นขั้นตอน
-ฝึกการช่าง ตวง วัด เรียนรู้สัดส่วนของส่วนผสม
-บวก ลบ เงินที่ได้รรับจากลูกค้า
-เรียนรู้เรื่องธนบัตร และ เหรียญ
-การเปลี่ยนสถานะของสสารจากของแข็ง(เนย)มาเป็นของเหลวด้วยอุณภูมิและเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งอีกครั้งในรูปแบบของเค้กหลังการอบด้วยความร้อน
-วิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นในครัว ทำไมไข่ขาวจึงเปลี่ยนเป็นโฟมเมอแลงค์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักที่ทำให้เค้กนุ่มฟู
ไข่ขาวมีโครงสร้างประกอบด้วยน้ำและโปรตีนถูกตีเร็วๆ โปรตีน น้ำและอากาศ (ที่เราตีเข้าไป) จะจัดเรียงตัวกันใหม่ได้เป็นโฟมและมีปริมาตรเพิ่มขึ้นจากตอนแรกอีกด้วย
-การเปลี่ยนของสสาร
ของแข็งเป็นของเหลว เช่น น้ำแข็งละลายกลายเป็นน้ำ เนยละลาย
ของเหลวกลายเป็นแก๊สจากการระเหยเวลาต้มน้ำ
ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง เช่นการทำน้ำแข็ง
-ชีส หมู่5ไขมันจากสัตว์
-ไข่ หมู่1 โปรตีน
-น้ำตาล หมู่2 คาร์โบไฮเดรต
-การเก็บล้างทำความสะอาดเพื่อโภชนาการที่ดี
-อ่านส่วนประกอบต่างๆจากสูตรทีได้มาทั้งในและต่างประเทศ
-อ่านฉลากสินค้าทีนำมาเป็นส่วนผสม
-สื่อสารกับลูกค้าต่างชาติ
-เรียนรู้การใช้ระบบ POS
-ความอดทน
-วินัย
-สร้างรายได้และอาชีพ
-สัดส่วน จากสัดส่วนของน้ำและผงกาแฟในการสกัด
-หน่วยวัด ออนซ์-มิลลิลิตร กรัม กาแฟ ๑ ชอต น้ำ ๓๐ มิลลิลิตรเท่ากับ ๑ ออนซ์ ต่อ กาแฟ ๓๐ กรัม จะได้น้ำกาแฟ ๑ ออนซ์หรือ ๓๐ มิลลิลิตร
การสกัดกาแฟ(coffee extraction)ก็คือ การละลายสารประกอบทางเคมี (Chemical Compound) หลาย ๆ ตัวในผงกาแฟบดด้วยตัวทำละลาย (น้ำ) ซึ่งน้ำร้อนในการสกัดกาแฟต้องมีอุณภูมิที่เหมาะสมจึงสามารถสกัดรสชาติกาแฟออกมาได้หมด
การกดกาแฟ พลังงานการบดอัด ทำให้เกิดการเรียงตัวใหม่ของโครงสร้างผงกาแฟ ทำให้น้ำสามารถผ่านผงกาแฟได้อย่างสม่ำเสมอเพื่อการสกัดสารต่างๆในกาแฟออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บันทึกกิจกรรม 1.การเก็บเซลล์สเปริม์ด้วยความเย็น 2. ดูเซลล์สเปริม์จากกล้องจุลทรรศ์ 3. สังเกตุการใส่สเปริม์ในเพศเมียเพื่อการผสมเทียม